ปรัชญา และวัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
ทันตแพทยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจ วินิจฉัย รักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้า การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพ จึงมีบทบาทสำคัญในระบบสุขภาพของประชาชนไทย

ในสังคมปัจจุบันเป็นสังคมบริโภคนิยม รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปากที่ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ และทันตแพทย์ จึงจำเป็นที่ศาสตร์ทางทันตแพทย์ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลักสูตรได้ยึดปรัชญาปฏิบัตินิยม(Pragmatism) นั่นคือการที่ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาเป็นทันตแพทย์ได้นั้นต้องมาจากการมีความรู้และฝึกฝนปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการ ในคลินิกและในชุมชนเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ โดยวิธีการจัดการหลักสูตรจะอิงอยู่บนหลักการของการศึกษาแบบอิงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based education) และการเรียนรู้แบบอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based learning) โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centred)

ดังนั้นหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จึงมุ่งผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์ และให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ มีการบูรณาการศาสตร์ต่างๆเพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และมีศักยภาพรอบด้านเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆและสามารถปรับตัวในเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ และเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาพช่องปากของชุมชนได้

วัตถุประสงค์ของการเปิดคลินิกทันตกรรม
คือ การให้การดูแลทันตสุขภาพ แบบComprehensive dental care เพื่อการรักษา การคงสภาพ การปูองกันและการสร้าง เสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับปัจจัยส่วนตัวของแต่ละบุคคลทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยควรจะมีการบูรณาการเชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในทุกมิติอย่างสัมพันธ์กัน หรือ อีกนัยหนึ่งควรพิจารณาการเข้าดูแลทันตสุขภาพต่อบุคคลโดยค านึงถึงองค์รวม (Holistic approach) เพื่อให้บุคคลบรรลุถึงคุณภาพชีวิตที่ดี
สามารถประเมินความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยได้ สามารถรวบรวมและประเมินสภาวะของผู้ป่วยทั้งด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพช่องปาก สภาวะจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย สามารถให้การวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาแบบพร้อมมูลอย่างเป็นลำดับ ขั้นตอน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อจำกัดของผู้ป่วย สามารถจัดการให้การรักษา การคงสภาพ การป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพกับ ผู้ป่วยตามแผนที่วางไว้อย่างเหมาะสม สามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาได้อย่างเหมาะสม